วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มุมมองของตั้ม ๖/๓ "ถ้ากรุงเทพหายไป เราจะทำอย่างไร"

มุมมองของข้าว ๖/๒ "ถ้ากรุงเทพหายไป เราจะทำอย่างไร"

๑.จากสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันนี้  หากเกิดผลกระทบทำให้กรุงเทพหายไปนักเรียนคิดว่าจะเกิดผลกระทบอย่างไร  ต่อนักเรียนและครอบครัว
หากสถานการณ์น้ำท่วมทำไห้แผ่นดินกรุงเทพหายไปก็จะทำไห้
ประชากรกรุงเทพต้องย้ายที่พักอาศัยและที่ทำงานต่างๆไปอยู่ที่อื่นรวมทั้งสินค้าก็จะแพงขึ้นเช่นอาหารบางอย่างและเสื้อผ้าที่ผลิตในกรุงเทพ
          ผมต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นและโรงเรียนอื่นทำให้ผมต้องสร้างความคุ้นเคยกับเพื่อนใหม่ๆซึ่งอาจเป็นเพื่อนที่นิสัยไม่ค่อยดี 
ครอบครัวผมต้องย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่น  ซึ่งที่อยู่นั้นอาจไม่ค่อยดีและเราก็ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่นั้นๆ  คุณยายหรือญาติก็ต้องย้ายบ้านออกจากกรุงเทพซึ่งต้องใช้เงินในการย้าย  อาจทำให้การติดต่อ ไปมาหาสู่ไม่สะดวกเหมือนในปัจจุบันที่บ้านอยู่ใกล้ๆกัน 
พ่ออาจต้องย้ายที่ทำงานเพราะที่ทำงานจะโดนน้ำท่วมไปด้วย  การย้ายที่ทำงานจะกระทบต่อพนักงานคนอื่นๆ  การประชุม  ติดต่องานในสถานที่ใหม่อาจไม่สะดวก  เข้าถึงยาก  อีกทั้งพ่อยังต้องไปสนามบินบ่อยๆและที่นั่นสนามบินอาจจะไกลจากที่พักอาศัย

๒.เมื่อแผ่นดินกรุงเทพหายไป  ส่งผลให้นักเรียนต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น  นักเรียนจะเลือกไปตั้งถิ่นฐานใดของประเทศไทย
            เมื่อแผ่นดินกรุงเทพหายไปทำให้ผมต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นตอนแรกผมคิดว่าจะย้ายไปอยู่จังหวัดชลบุรี  ซึ่งอยู่ริมทะเลภาคตะวันออก  ระยะทางห่างจากกรุงเทพประมาณ ๕๐ กิโลเมตรและใช้เวลาเดินทางเพียงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง  เพราะในระหว่างอพยพได้ไปอยู่ที่บ้านเพื่อนของพ่อผมที่บางแสน  และพบว่ามีอาหารเยอะและราคาไม่แพงมาก  โดเฉพาะอาหารทะเลเช่นหอยแมลงภู่  ปลาทู ข้าวต้มปลา  นอกจากนี้ยังมีสถานที่ออกกำลังกายริมทะเลซึ่งเป็นลานใหญ่  ผมนำคาสเตอร์บอร์ดไปเล่นได้  น้องชายผมสามารถเล่นสกูตเตอร์  และผู้ใหญ่ก็มีที่ออกกำลังกาย
          แต่ผมตัดสินใจจะไม่ย้ายมาอยู่ที่นี่เพราะหากดูตามแนวชายหาดจะอพยพว่าห่างจากกรุงเทพเพียง ๒๕ กิโลเมตร  อาจโดนน้ำท่วมไปพร้อมกับกรุงเทพได้  ผมจึงเลือกที่จะไปตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดเชียงใหม่  เพราะเมื่อไม่นานมานี้เชียงใหม่ถูกน้ำท่วมและน้ำลดอย่างรวดเร็วภายในสี่วัน  ผมคิดว่ามีโอกาสน้ำท่วมขังน้อยกว่ากรุงเทพและภาคกลาง 
          ผมคิดว่าเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่ทำการเกษตรมาก  สามารถผลิตอาหาร ข้าว พืชผัก  ผลไม้  ให้กับประชากร  อาหารน่าจะมีราคาถูก    ทำให้ค่าใช้จ่ายไม่แพงมาก  และผมชอบผไม้เมืองหนาวหลายอย่างเช่น  ลำไย อโวคาโด ลูกพลับ
          ผมเคยไปเที่ยวเชียงใหม่  อากาศดีและเย็นสบายเพราะมีป่าไม้สมบูรณ์  ส่งผลดีต่อสุขภาพ  ภูมิประเทศสวยงามเช่นดอยอ่างขาง  ดอยอินทนนท์  การมีป่าไม้สมบูรณ์ทำให้สิ่งแวดล้อมดี  หากมีน้ำท่วมป่าไม้ก็จะช่วยชะลอน้ำ  ไม่ก่อความเสียหายมากนัก  ช่วยยับยั่งปัญหาดินถล่มเพราะรากต้นไม้ช่วยเกาะยึดหน้าดินไว้
ภูมิประเทศ
จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่า มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,565.3355 ม. อยู่ในเขต อ.จอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,285 เมตรและดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,170 ม. สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
๑.      พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80% ของพื้นที่จังหวัด เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร
๒.      พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง ลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร

ภูมิอากาศ
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่
          ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
        ฤดูหนาว  เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
        ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดเชียงใหม่มีป่าไม้หลายประเภท ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง
ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 11,694,133 ไร่คิดเป็นร้อยละ 69.93 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด แบ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 25 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง
ทรัพยากรน้ำ
จังหวัดเชียงใหม่มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำปิง และยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง และยังแบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำดังนี้
ลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นลุ่มน้ำที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือตอนบน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง มีพื้นที่ 25,355.9 ตร.กม. สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความลาดชันสูง วางตัวแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เสี่ยงต่อแผ่นดินถล่มและการ
ชะล้างพังทลายของดินสูง ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบสะวันนา คือ มีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้งอย่างชัดเจน และยังมีลุ่มน้ำย่อยอีก 14 ลุ่มน้ำย่อย แม่น้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปิง แม่แตง แม่กวง แม่งัด แม่แจ่ม แม่ขาน และแม่ตื่น
ลุ่มน้ำกก มีแม่น้ำกกเป็นแม่น้ำสายหลัก มีต้นกำเนิดจากภูเขาในประเทศพม่า ไหลผ่านเมืองกก เมืองสาด ประเทศพม่า เข้าเขตประเทศไทยที่ช่องน้ำกก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลเข้าสู่จังหวัดเชียงราย ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่ 2,773 ตร.กม.
ลุ่มน้ำฝาง มีแม่น้ำฝางเป็นแม่น้ำสายหลัก ซึ่งมีต้นกำเนิดจากดอยขุนห้วยฝางและดอยหัวโท ทางตอนใต้ของอำเภอไชยปราการ ไหลลงสู่แม่น้ำกก มีความยาวลำน้ำประมาณ 70 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,948.5 ตร.กม. ในอำเภอไชยปราการ ฝาง และแม่อาย

ทรัพยากรธรณี
จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่สำคัญของประเทศ ทำให้ได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง โดยครั้งที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ขนาด 5.1 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางในอำเภอแม่ริม ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยในบริเวณอำเภอแม่ริมและอำเภอข้างเคียง ส่วนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณี มีการผลิตแร่ที่สำคัญ 8 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เฟลด์สปาร แมงกานีส ชีไลต์ ดีบุก ดินขาว ฟลูออไรด์ และแร่หินอุตสาหกรรม และจังหวัดเชียงใหม่ยังมีแหล่งทรัพยากรธรณีที่สำคัญ เช่น แหล่งปิโตรเลียม อำเภอฝาง สภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำพุร้อน อำเภอสันกำแพงและอำเภอฝาง โป่งเดือด อำเภอแม่แตง บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ อำเภอแม่ริม เป็นต้น
ประเพณีและวัฒนธรรม
การปล่อยโคมลอย ในเทศกาลยี่เป็ง(ลอยกระทง)
เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่
ปีใหม่เมือง (สงกรานต์) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เข้าวัดก่อเจดีย์ทราย และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล
ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ด้วยโคมชนิดต่างๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ
ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวง เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก
เทศกาลร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน
มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ
งานไม้แกะสลักบ้านถวาย จัดขึ้นในเดือนมกราคม ที่หมู่บ้านถวาย อำเภอหางดง มีการจำหน่ายและสาธิตการแกะสลักไม้ และหัตถกรรมพื้นบ้าน
ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ จัดขึ้นในเดือนเมษายน ในวันที่ 15 เป็นต้นไป ของทุกปี ที่บริเวณตัวเมืองจอมทอง มีขบวนรถจากชุมชน ห้างร้าน กลุ่มต่างๆ กว่า 40 ขบวน แห่ไปตามเมืองจอมทอง จนถึงวัดพระบรมธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี ตามตำนานเกิดขึ้นที่อำเภอเภอจอมทอง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งเดียวในโลก ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ กลายเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของชาวล้านนา จนได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือ และเป็นประเพณีที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความนิยมมาก
ด.ช.ธัญญะ บุญทราพงษ์  ข้าว ๑๓ ๖/

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พลอย ๔/๒ มาร่วมแลกเปลี่ยน (ต่อ)

พลอย ๔/๒ มาร่วมแลกเปลี่ยน

พิ้ง ๔/๓ ร่วมแลกเปลี่ยน

ไข่มด ๔/๓ มาร่วมแลกเปลี่ยน (ต่อ)

ไข่มด ๔/๓ มาร่วมแลกเปลี่ยน

มีมี่ ๔/๑ มาร่วมแลกเปลี่ยน (ต่อ)

งานบอกเล่า ๙ พอดีชั้น ๕ และ ชั้น ๖

        วันศุกร์ที่ ๒๒ มิ.ย. ที่ผ่านมา ทางช่วงชั้นได้จัดงานบอกเล่า ๙ พอดี ให้กับผู้ปกครองชั้น ๕ และชั้น ๖ เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความรู้และควา...