วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นีท ๔/๔ มาร่วมแลกเปลี่ยนโครงงานที่ ๑


ภาพชุดที่ ๑




การใช้ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยของกรุงเทพมหานคร ได้เพิ่มจาก 113,119 ไร่ ในปี พ.. 2529 เป็น 239,086 ไร่ ในปี พ.. 2543 โดยบริเวณที่มีการเพิ่มพื้นที่อยู่อาศัยมาก ได้แก่ พื้นที่ต่อเนื่องทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก ตลอดจนในบริเวณชานเมือง ขณะเดียวกันที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชั้นในได้เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินมาเป็นอาคารขนาดใหญ่ที่มีความหนาแน่นของการใช้ที่ดินสูงขึ้น เขตที่มีการเพิ่มสูงสุดได้แก่ เขตบางเขน เขตสายไหม เขตมีนบุรี เขตคลองสามวา เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว และเขตสะพานสูง สำหรับบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ได้แก่ พื้นที่เมืองชั้นใน และปรากฏว่ามีพื้นที่ที่มีจำนวนบ้านลดลงด้วย ได้แก่ ในเขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ และเขตบางกอกน้อย ทั้งนี้เนื่องจากที่ดินในบริเวณดังกล่าวมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง จึงมีการเปลี่ยนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยไปเป็นการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ


       
 บ้านเรือนที่อยู่อาศัยของคนชนบทมักอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน คนชนบทที่มีอาชีพทางการเพาะปลูกมัก จะตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลอง หรือใกล้กับแหล่งน้ำสาธารณะจำพวกหนอง บึง เพื่อสะดวกในการมีน้ำไว้กินไว้ใช้ในครัวเรือนใช้ในการเพาะปลูกหรือใช้เป็นทางคมนาคมติดต่อกัน ลักษณะหมู่บ้านของชนบทไทย โดยทั่ว ๆ ไปมีหลายแบบ แบบที่เห็นกันอยู่มากคือการตั้งบ้านเรียงรายเป็นหมู่บ้านริมคลองหรือริมถนน จะเห็นได้มากในชนบทภาคกลาง อีกแบบหนึ่งก็คือ ครัวเรือนตั้งอยู่ใกล้กันในละแวกเดียวกันเป็นกลุ่ม ๆ และล้อมรอบไปด้วยทุ่งนาหรือไร่ ผู้ที่อยู่ในบ้านในชนบท  นอกจากจะประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูก ๆ  แล้ว บางครอบครัวจะมีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ด้วย ลูก ๆ ที่แต่งงานไปแล้วมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ ๆ กับบ้านเรือนของพ่อแม่  ดังนั้น ผู้คนในละแวกบ้านเดียวกันจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ชีวิตในชนบทจึงเป็นชีวิตที่อบอุ่นด้วยญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกัน ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงาม ทุก ๆ หมู่บ้านมักมีวัดหรือสถานที่ทางศาสนาเป็นศูนย์รวมกิจกรรมต่าง ๆ ในหมู่บ้าน และมีบทบาทต่อชีวิตในชนบทส่วนใหญ่อย่างมากจนทุกวันนี้

ภาพชุดที่ ๒


กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของประเทศ เป็นจุดเริ่มต้นของทางหลวงและทางรถไฟ และมีท่าอากาศยานสำคัญถึง 2 แห่งและยนต์ส่วนตัวและรถประจำทาง ในปัจจุบัน ระบบคมนาคมขนส่งของกรุงเทพมหานครใช้ทางบกเป็นหลัก โดยเฉพาะการคมนาคมขนส่งตามเส้นทางถนน เนื่องจากเข้าถึงชุมชนได้สะดวกกว่าระบบอื่น และเป็นการเดินทางโดยยานพาหนะส่วนบุคคลเป็นหลัก นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังมีระบบการขนส่งสาธารณะที่ได้มาตรฐานและทันสมัย การเดินทางและท่องเที่ยวภายในเมืองจึง



คนชนบทนิยมใช้รถจักรยานยนต์(ที่มีความสะดวกและค่าใช้จ่ายต่ำ) มากกว่าการใช้รถประจำทาง ต่อมาผู้ให้บริการรถเมล์จึงเริ่มขาดทุน และลดต้นทุนด้วยการลดพื้นที่บริการเฉพาะในสายทางที่มีกำไร ในขณะที่ภาครัฐต้องสนับสนุนการก่อสร้างขยายถนนให้สามารถรองรับความ ต้องการเดินทางของรถยนต์/รถจักรยาน-ยนต์ที่เพิ่มขึ้นได้ และไม่มีงบประมาณเหลือพอที่จะสนับสนุนการพัฒนาและขยายพื้นที่ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งในระยะยาวระบบรถประจำทางจะไม่สามารถแข่งขันกับรถยนต์ส่วนบุคคลได้ โดยภาระจะตกแก่ผู้ด้อยโอกาส เช่น คนชรา คนพิการ และผู้มีรายได้น้อย จะไม่มีโอกาสได้รับบริการระบบขนส่งสา-ธารณะที่มีคุณภาพได้ ดังนั้น ภาครัฐต้องกระจายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมให้มีความสมดุลด้วย โดยอาศัยการบริหารจัดการด้วยการแบ่งปันกำไรจาก พื้นที่เมืองเพื่อใช้ในการลงทุนและพัฒนาระบบในพื้นที่ชนบทด้วย

ภาพชุดที่ ๓


กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีการพัฒนาจนเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศ ทั้งการเป็นศูนย์บริหารทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม   ตลอดทั้งการติดต่อกับนานาชาติมาโดยตลอด จนพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและการค้า การบริการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกจัดลำดับให้เป็นมหานครที่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 15 ของโลก อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีบทบาทหรือสัดส่วนในการผลิตถึงร้อยละ 51 ของผลผลิตรวมของประเทศ และในอนาคตจะเป็นศูนย์กลาง การส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าของประเทศให้สามารถเปิดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติ                                                                                   


ภาพชุดที่ ๔

ประชากรที่อยู่อาศัยบริเวณภาคกลาง ประกอบอาชีพที่สำคัญคือการทำเกษตร เลี้ยงสัตว์จับสัตว์น้ำ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม บริเวณที่ติดชายฝั่งทะเลจะเป็นที่นำรายได้มาสู่ประชาชนค่อนข้างสูงอาชีพค้าขาย เป็นอีกส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของประชาชนภาคกลางทั้งนี้เพราะมีแม่น้ำไหลผ่าน ทำให้เป็นแหล่งชุมชน จึงเหมาะแก่การค้าขาย ประชากรส่วนใหญ่สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์เป็นเครื่องเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ดังคำขวัญที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวดังนั้นภายในบ้านหลังหนึ่งๆ จะมีเครื่องมือในการดำเนินชีวิตเป็นต้นว่า เป็นต้นว่าเครื่องมือในการเกษตร


หากต้องการพักผ่อนสบาย รื่นรมย์ไปด้วยธรรมชาติ เดินทางสะดวก สถานที่ที่คนกรุงเทพฯ รู้จักคือ สวนสาธาณธต่างๆ การได้พักผ่อนเต็มที่ ออกกำลังกายพอเพียง เพื่อให้ร่างกายตื่นตัว กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ

คนชนบทภาคกลางมักจะเที่ยวใกล้ถิ่นฐานของตนเอง เช่น ตลาด ตลาดนํ้า แม่นํ้าลำคลอง วัดวาอาราม ทะเล ภูเขา เป็นต้น
คนในกรุงเทพฯ และ คนในชนบทต่างต้องการอาชีพ ทรัพย์สินเงินทอง ครอบครัว และ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง :
                                                                                               
ชีวิตในกรุงเทพ
ชีวิตในชนบทภาคกลาง
1.       เร่งรีบตลอดเวลา
2.       ผู้คนแออัด
3.       เผชิญความเครียดสูง
4.       ค่าครองชีพสูง       
5.       มีสิ่งอำนวยความสะดวกมาก             
6.       เดินทางโดย รถยนต์ส่วนตัว
1.       ไม่ต้องเร่งรีบ
2.       ไม่แออัด
3.       ไม่ค่อยเครียด
4.       ค่าครองชีพตํ่า
5.       ไม่ค่อยมีสิ่งอำนวยความสะดวก
6.       เดินทางโดย การเดิน จักรยาน เรือ รถเมล์


คนในกรุงเทพฯ และ คนในชนบทต่างต้องการอาชีพ ทรัพย์สินเงินทอง ครอบครัว และ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น                                              

สาเหตุที่ทำให้คนในกรุงเทพฯ และ คนในชนบทเหมือนหรือ แตกต่างกัน :

ความเหมือน
ความแตกต่าง
1.       ต้องการปัจจัย 4
2.       ทรัพย์สินเงินทอง
3.       ชื่อเสียง
4.       ความสำเร็จ
5.       อำนาจ
1.       การแข่งขันต่างกัน
2.       โอกาสในชีวิตต่างกัน
3.       ประสบการณ์
4.       มีอาชีพให้เลือกหลากหลายกว่า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งานบอกเล่า ๙ พอดีชั้น ๕ และ ชั้น ๖

        วันศุกร์ที่ ๒๒ มิ.ย. ที่ผ่านมา ทางช่วงชั้นได้จัดงานบอกเล่า ๙ พอดี ให้กับผู้ปกครองชั้น ๕ และชั้น ๖ เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความรู้และควา...